2.กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์สัตว์ใหญ่

                       บทที่ 2 กายวิภาคและสรีรวิทยาระบบสืบพันธุ์สัตว์
                  (Anatomy and Physiology of Reproductive System)



ระบบสืบพันธุ์เพศผู้ (Male Reproductive System)      
       ระบบสืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วน คือ
1. Primary sex organs เป็นอวัยวะหลักที่ทำหน้าที่ในการผลิตอสุจิ และฮอร์โมนเพศผู้ ได้แก่ อัณฑะ ซึ่งมี 2 ข้าง ซึ่งแต่ละข้างจะหุ้มด้วยถุง scrotum
2. Secondary sex organs ทำหน้าที่เป็นท่อเพื่อนำอสุจิจากแหล่งผลิตหรืออัณฑะออกสู่ภายนอก ได้แก่ ท่อต่างๆ คือ rete testis, epididymis, vas deferen, ampulla, uretha และ penis
3. Accessory sex organs ได้แก่ ต่อมต่างๆ ที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำกาม (seminal plasma) ประกอบด้วยต่อม vesicular glands ต่อม prostate

                              รูปภาพที่ 1 โมเดลแสดงระบบสืบพันธุ์เพศผู้
      ซึ่งแต่ละส่วน มีความสำคัญ ดังนี้
1. อัณฑะ (testis) เป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของระบบสืบพันธุ์ในสัตว์เพศผู้ มีหน้าที่หลัก คือ สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm) และสร้างฮอร์โมนเพศผู้ คือ เทสโทสเตอโรน (testosterone) ถ้าผ่าอัณฑะออกตามยาว จะพบ mediastium เป็นเส้นหนาตามยาวของอัณฑะ จาก mediastium จะมี septa testis แตกแขนงออกเป็นเนื้อเยื่อของอัณฑะออกเป็น lobules ในแต่ละ lobule จะมีท่อ seminiferous tubules ขดไปมา และต่อกับท่อ rete testis
       Seminiferous tubules เป็นท่อที่ทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (sperm) และระหว่าง Seminiferous tubules จะมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเซลล์ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศผู้ คือ เทสโทสเตอโรน (testosterone) คือ เลย์ดิกเซลล์ (laying cell) ภายในท่อ Seminiferous tubules ประกอบด้วย
1. basement membrane
2. epithelium cells วางตัวเป็นชั้นๆ บน basement membrane แบ่งออกเป็น
- Spermatogenic cells เป็นแหล่งที่มาของ spermatozoa มีการเจริญและพัฒนาเป็นระยะๆ จาก spermatogonia ไปจนเป็น spermatozoa เรียกขบวนการนี้ว่า spermatogenesis
- Supporting cell ทำหน้าที่ให้อาหารป้องกันและค้ำจุน spermatogenic cell

2. ท่อพักอสุจิ (epididymis) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (caput epididymos, head) ซึ่งเป็นจุดที่ efferent ductules มาเชื่อมกัน จากส่วนหัวจะเป็นส่วนตัว (corpus epididymos, body) และส่วนหาง (cauda epididymos, tail)
      หน้าที่ของ epididymis
1. ลำเลียงอสุจิจากอัณฑะเข้าสู่ท่อนำน้ำเชื้อ (sperm transport) โดยการบีบตัวของ epididymis การบีบพัดของ cilia แรงดันทางกายภาพ ในโคจะใช้เวลาประมาณ 9-11 วัน และในสุกรจะใช้เวลาประมาณ 9-14 วัน
2. ดูดซึมน้ำออกจากน้ำเชื้อที่อยู่ในท่อพักอสุจิ ทำให้น้ำเชื้อมีความเข้มข้น (sperm concentration) โดยเฉพาะส่วนหัว (caput epididymos, head) และส่วนหาง (cauda epididymos, tail) จะสร้างของเหลวซึ่งเหมาะกับการดำรงชีวิตของอสุจิ
3. เป็นที่พักตัวของอสุจิจนเจริญเต็มวัย (maturation) ทำให้ตัวอสุจิมีความสามารถในการเคลื่อนที่ และมีความสมบูรณ์พันธุ์มากขึ้น ทำให้ผสมติดสูงขึ้น ภายหลังจากการหลั่งออกมา
4. เป็นแหล่งเก็บรวบรวมอสุจิประมาณครึ่งหนึ่งที่ผลิตได้จากอัณฑะไว้ชั่วคราว (storage sperm) ที่ส่วนหาง (cauda epididymos, tail)
3. ท่อนำน้ำเชื้อ (ductus deferens, vas deferen) เป็นส่วนที่ต่อจากส่วนหาง (cauda epididymos, tail) ของท่อพักอสุจิ (epididymis) ผนังประกอบด้วยกล้ามเนื้อหนา ส่วนท้ายจะต่อกับบริเวณต่อมต่างๆ (accessory gland) และเชื่อมต่อกับ pelvic urethra บริเวณส่วนท้ายของระบบท่อต่างๆ จะมีส่วนที่พองออกเรียกว่า แอมพูล่า (ampulla) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ภายในมีต่อมมากมาย ส่วนนี้จะทำหน้าที่ส่งอสุจิจากท่อนำน้ำเชื้อ (ductus deferen) ไปยังท่อนำน้ำปัสสาวะ (urethra)
4. ต่อมร่วม (Acessory gland) ต่อมร่วมจะอยู่บริเวณ pelvic portion ของท่อนำน้ำปัสสาวะ (urethra) โดยมีท่อออกสู่ท่อนำน้ำปัสสาวะ (urethra) ต่อมร่วมเป็นแหล่งสำคัญของน้ำกาม มีคุณสมบัติเป็น buffer เป็นแหล่งอาหาร และอื่นๆ ที่ทำให้น้ำเชื้อมีความสมบูรณ์พันธุ์ ต่อมร่วมมี 3 ต่อม ได้แก่ ต่อมเวสคิวล่าร์ (vesicular gland), ต่อมลูกหมาก (prostate gland) และต่อมคาวเปอร์ (cowper’s gland)
4.1 ต่อมเวสคิวล่าร์ (vesicular gland) เป็นต่อมคู่ แต่ละต่อมมีลักษณะคล้ายพวงองุ่น ท่อเปิดของต่อมเวสคิวล่าร์ (vesicular gland) จะเปิดบริเวณใกล้กับ bifurcation ซึ่งเป็นบริเวณที่แอมพูล่า (ampulla) ต่อกับท่อนำน้ำปัสสาวะ (urethra) พบว่าน้ำกามของโคครึ่งหนึ่งจะมาจาก seminal vesicular ซึ่งมีสารอินทรีย์มากมายหลายชนิด
4.2 ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) เป็นต่อมเดียว และอยู่รอบตามยาวของท่อปัสสาวะใกล้กับท่อเปิดของต่อมเวสคิวล่าร์ (vesicular gland) สามารถคลำต่อมลูกหมากได้โดยผ่านทางทวารหนัก น้ำกามที่มาจากต่อมนี้มีปริมาณเพียงเล็กน้อย ซึ่งประกอบด้วยสารอนินทรีย์ (inorganic ions) ได้แก่ โซเดียม, คลอไรด์, แคลเซียม และแมกนีเซียม
4.3 ต่อมคาวเปอร์ (Cowper’s gland) เป็นต่อมคู่ วางตัวตามยาวของท่อนำน้ำปัสสาวะ (urethara) ต่อมคาว์เปอร์ (Cowper’s gland) จะสร้างของเหลวเพียงนิดเดียว ในโคของเหลวจากต่อมคาว์เปอร์ (Cowper’s gland) จะช่วยล้างน้ำปัสสาวะที่ค้างตามท่อออกไปก่อนที่จะหลั่งน้ำเชื้อ
5. ท่อนำน้ำปัสสาวะ (Urethra) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของน้ำปัสสาวะและน้ำเชื้อ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
5.1 บริเวณโพรงกระดูกเชิงกราน (Pelvic part) ท่อที่อยู่บริเวณนี้จะต่อกับต่อมน้ำกามทั้ง 3 ชนิด
5.2 บริเวณที่โค้งงอตามแนว ischiodicarch ของกระดูกเชิงกราน (Bulb of urethra part)
5.3 ส่วนที่อยู่ภายในตลอดลึงค์ (Penile part)
ในระหว่างการหลั่งน้ำเชื้อจะมีการผสมกันอย่างสมบูรณ์ ระหว่างอสุจิ (sperm) ที่ผ่านมาทางแอมพูล่า (ampulla) กับต่อมร่วมบริเวณโพรงกระดูกเชิงกราน (pelvic part) ของท่อนำน้ำปัสสาวะ (urethra) โดยมี calliculus seminalis ทำหน้าที่เป็นลิ้นปิดเปิด (valve) ไม่ให้น้ำปัสสาวะปนกับน้ำเชื้อ
6. ลึงค์และถุงหุ้ม (Penis and Prepuce) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการนำน้ำเชื้อเข้าไปในช่องคลอดของตัวเมีย ลึงค์ (penis) จะแข็งตัวอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีอารมณ์ทางเพศ จะเพิ่มขนาดและความยาวขึ้นอีกเพียงเล็กน้อย

ระบบสืบพันธุ์สัตว์เพศเมีย (Female Reproductive System)

                              รูปภาพที่ 2 แสดงระบบสืบพันธุ์เพศเมีย
     ประกอบด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ที่สำคัญได้แก่
1. ปากช่องคลอด (vulva) สามารถมองเห็นได้จากภายนอก ประกอบด้วย แคม (labia) มีลักษณะเป็นกลีบใหญ่ๆ 2 กลีบประกบกัน โดยกลีบทั้ง 2 ข้างจะเชื่อมกันทางด้านบนและล่าง ปากช่องคลอด (vulva) ยาวประมาณ 10 ซม.
2. กระพุ้งช่องคลอด (vestibule) อยู่ถัดจากปากช่องคลอด มีความยาวประมาณ 2-5 ซม. ปลายด้านในของส่วนที่เป็นกระพุ้งต่อกับช่องคลอด บริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างกระพุ้งช่องคลอด (vestibule) และช่องคลอด (vagina) จะมีช่องเปิดของท่อปัสสาวะ (urethra) มาเปิด กระพุ้งช่องคลอด (vestibule) จะมีต่อมสร้างน้ำเมือกจำนวนมาก น้ำเมือกที่ผลิตออกมามีลักษณะเหนียวใส โดยจะหลั่งออกมาเมื่อสัตว์เป็นสัด ส่วนมุมด้านล่างของกระพุ้งช่องคลอดจะมีปุ่มเรียกว่า คลิตอริส (clitoris)
3. ช่องคลอด (vagina) มีลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 20-30 ซม. ผนังบางมีลักษณะเป็น หลืบและยืดหยุ่นได้ดี ช่องคลอดบุด้วยเยื่อบุ มีต่อมสร้างน้ำเมือกเป็นจำนวนมาก จะหลั่งน้ำเมือกใส เพื่อล้างช่องคลอดและขับสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้าไปให้หลุดออกมาได้ โดยน้ำเมือกจะถูกขับออกมามากในช่วงที่สัตว์เป็นสัดเช่นเดียวกับต่อมสร้างน้ำเมือกในกระพุ้งช่องคลอด
4. มดลูก (uterus) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
4.1 คอมดลูก หรือปากมดลูก (cervix) มีลักษณะเป็นท่อ อยู่ระหว่างตัวมดลูก (body of uterus) กับช่องคลอด (vagina) ภายในคอมดลูกมีส่วนของเนื้อเยื่อที่เป็นหลืบ 2-3 หลืบ ด้านที่ต่อกับช่องคลอด (vagina) เป็นปากมดลูก (cervix) ซึ่งมีช่องเปิดเล็กๆ ผ่านตลอดความยาว มีช่องเปิดด้านนอกออกสู่ช่องคลอด (vagina) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ต้องสอดปืนฉีดน้ำเชื้อเข้าไป และมีช่องเปิดด้านในเปิดเข้าตัวมดลูก
       คอมดลูก (cervix) มีต่อมสร้างน้ำเมือกเช่นเดียวกับในช่องคลอด (vagina) ซึ่งจะขับออกมาเมื่อสัตว์เป็นสัด แต่ในขณะที่สัตว์ตั้งท้องน้ำเมือกที่คอมดลูก (cervix) จะจับกันเป็นก้อนแข็ง อุดแน่น เพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมต่างๆ เข้าไปทำอันตรายต่อตัวอ่อนในมดลูกได้  ตำแหน่งของคอมดลูกโดยปกติแล้วพาดอยู่บนกระดูกเชิงกราน แต่ถ้ามีการตั้งท้อง หรือเกิดมีสภาวะผิดปกติเกิดขึ้นในมดลูก (ureter) คอมดลูก (cervix) จะเลื่อนไปอยู่ที่ขอบกระดูกเชิงกรานหรืออยู่ช่องท้อง
4.2 ตัวมดลูก (body of uterus) เป็นส่วนที่ต่อจากคอมดลูก (cervix) ผนังบางกว่าปีกมดลูก (horn of uterus) ปลายของตัวมดลูก จะถูกแบ่งเป็นซ้ายและขวา และเป็นท่อยาวออกไปทั้ง 2 ข้าง ซึ่งจะไปเชื่อมต่อกับปีกมดลูก (horn of uterus) ตัวมดลูก (body of uterus) มีต่อมสร้างน้ำเมือก ซึ่งจะขับออกมาเมื่อสัตว์เป็นสัด
4.3 ปีกมดลูก (horn of uterus) เป็นส่วนที่ต่อมาจากตัวมดลูก มี 2 ข้าง ซ้ายและขวา ปีกมดลูก บริเวณตรงกลางระหว่างปีกซ้ายและขวา ก่อนที่จะแยกเป็นปีกแต่ละปีก จะมีเอ็นระหว่างปีกมดลูกยึดอยู่ ในระยะที่สัตว์เป็นสัด ปีกมดลูก (horn of uterus) จะแข็ง และม้วนขดเข้าคล้ายเขาแกะ แต่ถ้าสัตว์ไม่ได้อยู่ในช่วงเป็นสัด ปีกมดลูกจะนิ่มเหลวและยืดยาวออก ในสัตว์ที่ตั้งท้องปีกมดลูกทั้ง 2 ข้างจะนิ่มเหลวแต่มีการขยายใหญ่ของปีกมดลูกข้างที่ตั้งท้อง ทำให้มีขนาดใหญ่กว่าข้างที่ไม่ต้องท้อง ซึ่งขนาดของปีกมดลูกข้างที่ตั้งท้องจะมีขนาดใหญ่เท่าใดนั้นขึ้นกับระยะของการตั้งท้องหรือขนาดของลูกอ่อนที่เจริญเติบโต
      ผนังของตัวมดลูกและปีกมดลูกเป็นกล้ามเนื้อเรียบ ด้านในของตัวมดลูกและปีกมดลูกมีลักษณะเป็นโพรง บุด้วยชั้นของเนื้อเยื่อที่เรียกว่า เยื่อบุด้านในมดลูก มีลักษณะเปราะบางและง่ายต่อการฉีกขาดหรือบาดเจ็บ
5. ท่อนำไข่ (oviduct) เป็นท่อเล็กๆ มี 2 ข้าง ต่อจากปีกมดลูกแต่ละข้าง ลักษณะของท่อนำไข่ค่อนข้างคดเคี้ยวและโค้งงอ ช่วยนำไข่จากรังไข่ (ovary) ไปยังมดลูก (uterus) โดยส่วนบนของท่อนำไข่ (oviduct) มีลักษณะเป็นปากแตร (fimbria) เปิดอยู่ใกล้กับรังไข่ คอยปัดไขที่ตกจากรังไข่เพื่อส่งต่อไปยังท่อนำไข่ (oviduct) นอกจากนี้ท่อนำไข่ (oviduct) เป็นอวัยวะสำคัญในการเกิดปฏิสนธิของไข่และตัวอสุจิ ท่อนำไข่แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
5.1 Infundibulum คอยรองรับไข่
5.2 Ampulla มีการสร้างสารคัดหลั่งช่วยในการเคลื่อนที่ของไข่
5.3 Isthmus ต่อกับปีกมดลูก เป็นตำแหน่งที่เกิดการปฏิสนธิ (fertilization)
6. รังไข่ (ovary) มีอยู่ 2 ข้าง ซ้ายและขวา ห้อยอยู่ปลายปีกมดลูก (horn of uterus)ส่วนประกอบหลักของรังไข่ คือ ถุงไข่ (follicle) และคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) ตั้งแต่แรกเกิด จะมีถุงไข่ (follicle) เป็นจำนวนมาก และจะเจริญเติบโตเต็มที่จากนั้นจะมีการตกไข่ (ovulation) ในแต่ละวงจรการเป็นสัด มีจำนวนไม่มาก ภายในถุงไข่ (follicle) จะมีเซลล์ไข่อยู่หนึ่งเซลล์ ประกอบด้วยผนังเปลือกไข่ (zona pellucida) ห่อหุ้มไซโตพลาสซึมและนิวเคลียส ซึ่งสามารถเปรียบเทียบไซโตพลาสซึมได้เช่นเดียวกับไข่ขาว และนิวเคลียสเปรียบเหมือนไข่แดงของไข่ไก่
       เมื่อมีการตกไข่ (ovulation) เซลล์รอบๆ ที่เป็นถุงไข่ (follicle) จะมีการเปลี่ยนแปลง เจริญเป็นคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) โดยในระยะหลังการตกไข่ คอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) จะมีขนาดเล็กและนุ่ม จากนั้นคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) จะเจริญอย่างรวดเร็วและโตเต็มที่หลังการเป็นสัด และจะนูนออกมาจากผิวรังไข่ ในระยะท้ายของวงรอบการเป็นสัด ถ้าสัตว์ผสมไม่ติดหรือไม่ได้รับการผสมพันธุ์คอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) จะเริ่มฝ่อ เนื้อแข็งขึ้น มีขนาดเล็กลง ในช่วงนี้จะเริ่มมีการสร้างถุงไข่ (follicle) ใหม่ขึ้นมาและจะเจริญอย่างรวดเร็ว เพื่อที่จะเกิดการตกไข่ในวงรอบต่อไปคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) จะกลายเป็นเนื้อเยื่อพังผืดในรังไข่ แต่ถ้าหากไข่ที่ตกมานั้นมีตัวอสุจิเข้าผสม มีการปฏิสนธิ (fertilization) เจริญเป็นตัวอ่อน (fetus) มีการฝังตัวที่ปีกมดลูก (horn of uterus) คอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) ก็จะยังคงอยู่ต่อไป ตลอดระยะการตั้งท้องคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) จะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) เพื่อควบคุมการตั้งท้อง

                                          วิดีโอที่ 1 ระบบบสืบพันธุ์เพศเมีย (ที่มา: youtube)

ฮอร์โมนที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์        
      ขบวนการสืบพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะถูกควบคุมโดยระบบอย่างน้อย 2 ระบบ คือ ระบบประสาท (nerve system) และระบบฮอร์โมน (hormone) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน โดยระบบประสาทจะทำหน้าที่ในการรับรู้สภาวะต่างๆ จากนั้นจะส่งผ่านข้อมูลดังกล่าวไปยังสมอง จากนั้นอาจมีการส่งตรงข้อมูลไปยังเป้าหมายโดยตรงหรือกระตุ้นผ่านระบบฮอร์โมน โดยส่งในรูปสารสื่อ (chemical messengers)
1. Gonadotropin releasing hormone (GnRH) สร้างจาก hypothalamus ซึ่งอยู่ภายในสมอง มีหน้าที่ไปกระตุ้นต่อมไร้ท่ออื่นๆ ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนอื่นๆ ออกมา เช่น กระตุ้นให้ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) ผลิตฮอร์โมน Follicle stimulating hormone (FSH) และ Luteinizing hormone (LH)
2. Follicle stimulating hormone (FSH) มีหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของถุงไข่บนรังไข่ (ovary) โดยทำงานร่วมกับฮอร์โมนอื่นๆ ด้วย
3. Luteinizing hormone (LH) มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการตกไข่ (ovulation) โดยทำงานร่วมกับฮอร์โมนอื่นๆ กระตุ้นให้เซลล์บนรังไข่เปลี่ยนเป็นคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum)
4. Estrogen สร้างจากถุงไข่ (follicle) ในรังไข่ (ovary) มีหน้าที่ทำให้เกิดการพฤติกรรมการเป็นสัด และทำให้มดลูก (uterus) บีบเกร็งตัวในระยะที่สัตว์เป็นสัด (estrus)
5. Progesterone สร้างจากคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) ทำให้สัตว์ไม่แสดงอาการเป็นสัดในระยะกลางของวงรอบการเป็นสัด และเตรียมเยื่อบุมดลูกเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน
6. PGF2 (Prostaglandin F2 alpha) สร้างจากเยื่อบุมดลูก มีหน้าที่ทำให้คอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) เกิดการสลายตัว และทำให้มดลูกเกิดการบีบตัว
7. Growth hormone (GH) เป็นโปรตีนฮอร์โมน ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเป็นหนุ่มสาวของสัตว์ ทั้งนี้หน้าที่โดยตรงของฮอร์โมนนี้ คือ เป็นตัวเร่งปริมาณการผลิตโปรตีนภายในเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย โดยเป็นตัวเร่งให้กรดอะมิโน (amino acid) จากกระแสเลือดซึ่งได้จากการย่อยอาหารเข้าไปภายในเซลล์ และเกิดการสร้างโปรตีนซึ่งจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ ผลสุดท้ายที่เกิดขึ้น คือ การเจริญเติบโตของร่างกาย ถ้าขาดฮอร์โมนนี้สัตว์จะแคระแกร็น และเป็นหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ
8. Prolactin เป็นฮอร์โมนที่ผลิตและกลั่นสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary) ช่วยให้สร้างน้ำนมเป็นไปโดยปกติ
9. Oxytocin โปรตีนฮอร์โมนที่สร้างจากไฮโปรทาลามัส (hypothalamus) แล้วถูกนำมาเก็บที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary) เมื่อระบบประสาทได้รับการกระตุ้น oxytocin จะถูกหลั่งออกมา ช่วยให้การขนส่งของไข่ (egg) และตัวอสุจิ (sperm) พบกันในท่อนำไข่ (oviduct) และนำลงสู่ปีกมดลูก (horn of uterus) เพื่อตั้งครรภ์ ฮอร์โมนนี้จำเป็นต่อการคลอด คือทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ปีกมดลูก ตัวมดลูก และช่องคลอด บีบรัดตัว ตลอดจนต่อมน้ำนมบีบรัดตัวทำให้น้ำนมไหลเมื่อลูกดูดนม
10. Relaxin เป็นฮอร์โมนที่ผลิตและกลั่นสร้างได้ในรังไข่ (ovary) ทำให้กระดูกเชิงกรานและคอมดลูกอ่อนตัวและขยายกว้างช่วงในการคลอด

                            รูปภาพที่ 3 แสดงกลไกการทำงานของฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง
วัฏจักรการสืบพันธุ์      

       เกี่ยวข้องกับ วัยหนุ่มสาว, อายุเมื่อสมบูรณ์พันธุ์, ฤดูกาลผสมพันธุ์, วงรอบการเป็นสัด, สภาวะปกติทางการสืบพันธุ์ภายหลังคลอด และการสิ้นสภาพทางการสืบพันธุ์ เป็นต้น

วัยหนุ่มสาว (puberty)     

      อายุเมื่อถึงวัยหนุ่มสาวของสัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป และแม้แต่สัตว์ชนิดเดียวกันก็อาจแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย และอาหารที่ได้รับ ถ้าการเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ สัตว์แต่ละชนิดจะเริ่มเป็นหนุ่มสาวเมื่อมีอายุตามตาราง

ตารางที่ 1 แสดงอายุเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวในสัตว์ชนิดต่างๆ
ชนิดสัตว์
อายุเมื่อเป็นหนุ่มสาว
โคเพศผู้
โคเพศเมีย
กระบือเพศผู้
กระบือเพศเมีย
สุกรเพศผู้
สุกรเพศเมีย
แพะ, แกะ
เป็ด, ไก่, ห่าน
ม้าเพศผู้
ม้าเพศเมีย
30-36
24-36
36-40
24-36
12-18
8-12
12-14
10-12
34-40
24-36
 
       วัยหนุ่มสาวจะเป็นวัยที่สัตว์สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์ และสามารถมีพฤติกรรมทางเพศได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจาก ระบบฮอร์โมน เมื่อสัตว์เข้าสู่วัยหนุ่มสาว ระดับ gonadotropin จะเริ่มสูงขึ้น ทำให้มีการพัฒนาของอัณฑะ (testis) และรังไข่ (ovary) มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในเพศผู้ คือ อสุจิ (sperm) และการเติบโตของถุงไข่ (follicle) ในเพศเมีย มีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศผู้ เมื่อมีระดับสูงถึงระดับหนึ่งแล้ว จะมีผลย้อนกลับ (Negative feedback) ไปควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศเมีย และเมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) สูงถึงระดับหนึ่งแล้วจะมี ผลให้สัตว์แสดงอาการเป็นสัด (estrus) และตกไข่ (ovulation) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นวงรอบการเป็นสัด ซึ่งจะหมุนเวียนเป็นวงรอบไปเรื่อยๆ หากสัตว์ไม่ตั้งท้อง
วงรอบการเป็นสัด (Estrus cycle)     
      วงรอบการเป็นสัดเป็นพฤติกรรมทางเพศของสัตว์เพศเมีย ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาร่างกาย โดยเป็นผลมาจากระบบฮอร์โมน กล่าวคือ การที่รังไข่จะสร้างไข่ขึ้นมาฟองหนึ่ง ไข่จะเจริญขึ้นมาภายในถุงไข่ (follicle) จนแก่ เกิดการตกไข่ (ovulation) มีการสร้างคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) ตลอดจนคอร์ปัส ลูเทียม (corpus luteum) สลาย เมื่อไข่ไม่ได้รับการผสมทำให้ไข่ฟองต่อไปเริ่มสุกและเกิดการตกไข่ (ovulation) ซึ่งจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆในระยะเวลาที่สม่ำเสมอ จนกว่าจะมีการตั้งท้อง (pregnancy) และนอกจากจะเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในรังไข่ (ovary) แล้ว ยังมีการเปลี่ยนแปลงภายในอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนอื่นๆ ด้วย ตลอดจนการแสดงออกภายนอกร่างกาย
     การแบ่งวงรอบการเป็นสัด
- Seasonally monoestrus คือ กลุ่มสัตว์ที่แสดงอาการเป็นสัดเฉพาะฤดูกาล ฤดูกาลละ 1 ครั้ง เช่น สุนัขจิ้งจอก
- Seasonally polyestrus คือ กลุ่มสัตว์ที่แสดงอาการเป็นสัดเฉพาะฤดูกาล และในฤดูกาลที่เป็นสัดดังกล่าว มีวงรอบการเป็นสัดหลายครั้ง เช่น ม้า แพะ แกะ เป็นต้น
- Polyestrus คือ กลุ่มสัตว์ที่มีวงจรการเป็นสัดเกิดได้ตลอดปีหากไม่มีการตั้งท้อง ไม่เกี่ยวกับฤดูกาล เช่น โค, สุกร เป็นต้น

การแบ่งช่วงต่างๆ ในวงรอบการเป็นสัด
      ช่วงต่างๆ ในวงรอบการเป็นสัดจะถูกแบ่งเป็น follicular phase หมายถึง ระยะที่สภาวะทางการสืบพันธุ์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ follicle ซึ่งผลิตฮอร์โมน estrogen เป็นส่วนใหญ่ และ luteal phase หมายถึง ระยะที่สภาวะทางการสืบพันธุ์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ corpus luteum ซึ่งผลิตฮอร์โมน progesterone เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ช่วง คือ
1. proestrus หมายถึง ระยะที่รังไข่พัฒนาก่อนการเป็นสัด
2. estrus หมายถึง ระยะที่แสดงอาการเป็นสัด
3. metestrus หมายถึง ระยะหลังการเป็นสัดใหม่ๆ
4. diestrus หมายถึง ระยะที่ corpus luteum ทำหน้าที่และสัตว์อยู่ในสภาวะปกติ

ตารางที่ 2 แสดงช่วงต่างๆ ของวงรอบการเป็นสัดในสัตว์ชนิดต่างๆ
ชนิดสัตว์
ช่วงต่างๆ ของวงรอบการเป็นสัด (วัน)
Proestrus
estrus
metestrus
Diestrus
estrus cycle
โค
สุกร
แพะ
แกะ
3-4
3-4
2-3
2-3
12-18 hr.
48-72 hr.
30-40 hr.
24-36 hr.
3-4
2-3
2-3
2-3
10-14
11-13
13-15
10-12
21
20
21
17
ฤดูกาลผสมพันธุ์ (Breeding Season)
       สัตว์จำนวนมากอาศัยอยู่ในเขตอบอุ่น และบางกลุ่มอาศัยอยู่ในเขตหนาว ทั้งนี้เป็นผลมาจากความแตกต่างของช่วงแสง หรือความยาวของช่วงกลางวันและกลางคืนที่แตกต่างกันมากในแต่ละช่วงของปี ซึ่งมีผลต่อความอยู่รอดของสัตว์ ดังนั้นสัตว์แต่ละชนิดจะต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถกำเนิดลูกได้ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้ เช่นในโค และสุกร ถึงแม้การสืบพันธุ์ไม่เกี่ยวข้องกับฤดูกาล แต่พบว่าประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์จะต่ำลงในฤดูร้อน จากการศึกษาที่ประเทศฝรั่งเศส พบว่าในเดือนมิถุนายนมีอัตราการผสมติดต่ำ และในเดือนพฤศจิกายนมีอัตราการผสมติดสูง และในสุกร จำนวนลูก/ครอก จะต่ำในฤดูร้อน ซึ่งอาจเกิดจากอิทธิพลของอุณหภูมิและช่วงแสง

อายุและความสมบูรณ์พันธุ์       

         ความสมบูรณ์พันธุ์ของฝูงสัตว์ วัดได้จากเปอร์เซ็นต์ของสัตว์ที่คลอดลูก ตลอดจนจำนวนลูก/ครอก ซึ่งจะสูงขึ้นหลังจากสัตว์เข้าสู่วัยหนุ่มสาว จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ทั้งนี้สัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป เช่น ในโค อัตราการตั้งท้องสูงสุดจนถึงอายุเมื่อประมาณ 5-7 ปี ในสุกร 3-4 ปี ในแพะและแกะ 4-6 ปี



อ้างอิง
การผสมเทียม. 2554. http://www.dld.go.th/airc_urt/th/
กองผสมเทียม กรมปศุสัตว์ คู่มือฝึกอบรมการผสมเทียมโค. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย กทม. 190 หน้า
พรรณพิไล เสกสิทธิ์. 2548. เทคโนโลยีการผสมเทียมและปัญหาการสืบพันธุ์ปศุสัตว์. สำนัก
เทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สัตวแพทยสภา. 2548. การผสมเทียมโค. กรมปศุสัตว์. การฝึกอบรมการผสมเทียมโคภายใต้
โครงการสงเสริมการเลี้ยงโคเนื้อล้านครอบครัว.

20 ความคิดเห็น:

  1. advanced-systemcare-pro-crack-2 out from the Audience. By way of instance, many modern PCs have SSDs that do not profit from defragging (it may decrease their lifespan), therefore even though Advanced SystemCare carries a defrag tool.
    new crack

    ตอบลบ
  2. easeus data recovery wizard farooqpc Thanks for sharing such great information, I highly appreciate your hard-working skills which are quite beneficial for me.

    ตอบลบ
  3. Thanks for sharing such great information, I highly appreciate your hard-working skills which are quite beneficial for me. reimage-pc-repair-crack

    ตอบลบ
  4. https://kaset1.blogspot.com/p/2.html?showComment=1537063339739

    ตอบลบ
  5. This design is wicked! You most certainly know how to keep a reader amused.
    Between your wit and your videos, I was almost moved to start my own blog (well, almost…HaHa!) Great job.
    I really loved what you had to say, and more than that, how you presented it.
    Too cool!
    corel painter torrent
    araxis merge torrent
    mediamonkey torrent
    mount and blade warband keygen
    ummy video downloader torrent
    Crack Like

    ตอบลบ
  6. On the Internet, I was happy to discover this installation.
    It was a wonderful read and I owe it to you at least once.
    It touched my interest a little and you kindly kept it.
    Become a fan of a new article on your site
    anymp4 video converter ultimate crack
    movavi screen recorder crack
    free fire for pc crack
    thunderbird portable crack

    ตอบลบ
  7. This is an excellent article. This gives me the opportunity to broaden my knowledge. Take every chance you get in life since anything can happen at any time. So, please come to my page and take use of the useful information.https://crackdue.com/farming-simulator-21-crack-free-download/

    ตอบลบ
  8. I'd like to see many more submissions from you in the future.
    So many people love your software. It's an honor to see your work.
    https://hdlicense.net/retail-man-pos-crack-download/

    ตอบลบ
  9. This is best Software. I'm glad I came across this and had the opportunity to read it.  you can free download.
    https://licenselive.com/stereo-tool-crack/

    ตอบลบ

  10. It's uncommon these days to come upon a site of this caliber.https://easyserialkeys.com/jetbrains-pycharm-professional-crack/

    ตอบลบ
  11. Exceptionally well-written, I must say. Keep your work of a high standard. It's impossible for me to keep quiet about my displeasure with it. You're doing a great job in this department. Do not forget to have fun while using this wonderful piece of software.

    ตอบลบ
  12. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ